โรคซึมเศร้า
อาการโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าในเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ กล่าวคือคนที่เป็นโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย ไม่กำหนดว่าเพศชายหรือหญิงหรือต่างเพศ ทุกคนล้วนเป็นได้ทั้งหมด อนึ่ง เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ไม่ใช่คนบ้า หรือคนไม่ดี เพียงแต่เป็นคนที่มาอาการป่วยทางด้านอารมณ์ที่ต้องการการรักษาอย่างถูกต้อง ไปจนถึงรักษาให้เร็วที่สุด เพราะโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะคิดสั้นฆ่าตัวตายอยู่ในเกฑณ์ที่สูงมาก ๆ
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
กล่าวด้วยคำทางวิทยาศาสตร์หรือวิชาการคงบอกว่ามันเกิดจากความผิดปรกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) เกิดมีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วนมีร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงความคิด ที่นำไปสู่ความท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่มีชีวิตชีวา ไม่รู้สึกถึงความสุขและความสนุก หลับได้ยาก ไม่ว่าจะเพราะสะดุ้งตื่นตอนกลางคืน หรือเพราะฝันร้าย แต่ทั้งหมดทำให้ร่างกายทำงานได้น้อยลง
ทั้งนี้สาเหตุอื่น ๆนอกจากทางด้านวิชาการแล้ว คงบอกได้ว่ามันอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ และสภาพแวดล้อมที่ตัวผู้ป่วยแต่ละคนเจออยู่อีกด้วย เช่นการที่คุณเจอกับมรสุมในชีวิต หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง สูญเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รักไป ความรักที่ไม่สมหวัง เหตุการณ์มากมายที่ยากที่จะกล่าวได้ทั้งหมด ล้วนแล้วแต่เป็นไปได้ที่จะกระตุ้นให้เกิดสภาวะที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าด้วยเช่นเดียวกัน เพราะโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าหากคุณมีญาติที่เป็นโรคนี้อยู่ แล้วตัวคุณจะเป็นได้ เพราะสุดท้ายมันต้องร่วมกับปัจจัยที่กล่าวไปแล้วข้างต้นรวมอยู่ด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดโรคขึ้นมา โดยผู้หญิงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 70%
อาการโรคซึมเศร้า
อาการส่วนใหญ่ของโรคซึมเศร้านั้นมีแตกต่างกันไปในแต่ละคนไม่เหมือนกันนัก หากแต่ว่าต้องมี ตั้งแต่ 1 หรือ 2 ข้อ เป็นอย่างน้อย และต้องมีอาการต่อเนื่องอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่มีขาดๆหายไป แบบแค่ 2 วันก็หายเป็นปรกติ อันนี้ถือว่ายังไม่เข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า
อาการที่ว่ามีดังต่อไปนี้
1.อารมณ์ซึมเศร้า หรือหงุดหงิด หรืออาจไปถึงทุกข์จนร้องไห้ออกมา
2.ความสนใจและความสนุกในกิจกรรมต่าง ๆลดน้อยลงไป
3.น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
4.นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
5.กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง คิดอะไรช้ากว่าปรกติ
6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
7.รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า อยากอยู่คนเดียวไม่อยากยุ่งหรือพูดคุยกับใครทั้งนั้น
8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
9.คิดเรื่องการตาย หรือมีความรู้สึกว่าอยากตาย
การรักษาโรคซึมเศร้า
ถ้าจะบอกว่าการรักษาโรคซึมเศร้านั้นมีอยู่กี่วิธีแล้วอะไรบ้างคงต้องจำแนกออกมาได้หลักๆคือ 3 วิธี นั้นได้แค่ วิธีรากโรคซึมเศร้าด้วยยา ,การรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยา และรักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า (ECT,electroconvulsive therapy)
โดยเราจะเริ่มอธิบายอย่างคร่าวๆกันก่อน
1.รักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา
การรักษาด้วยยานั้นจะมีอยู่หลากหลายชนิด เช่นตัวยาที่ทำให้ง่วงและไม่ง่วง แต่ทั้งหมดนั้นจะไม่ทำให้ก่อเป็นสารเสพติด และผู้ป่วยสามารถที่จะหยุดยาได้เมื่ออาการมีอาการที่ดีขึ้น
ตัวยาจะค่อนข้างออกฤทธิ์ช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และเมื่อหายแล้วหมอผู้ทำการรักษาอาจจะให้ยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน ทว่าในบางรายก็อาจต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้นอีกขึ้นอยู่กับพิจารณาของหมอที่ทำการรักษา
โดยส่วนใหญ่แล้วยาของโรคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มใหญ่ที่จะทำมาใช้ หากผู้ป่วยที่เคยป่วยและได้ทำการรักษามาก่อนแล้ว หากกลับมาเป็นอีกครั้ง มักจะให้ใช้ยาตัวเดิมกับที่เคยรักษา เพราะมีการตอบสนองต่อยาตัวเดิมที่ดีกว่า
2.รักษาโดยไม่ใช่ยา
การรักษาโดยไม่ใช่ยานั้น นับว่ายากและอยู่ที่กำลังใจที่ได้กับความตั้งใจของตัวผู้ป่วยเอง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง จากคนที่คิดในแง่ร้าย ให้ค่อยๆมองทุกอย่างเป็นแง่ดีมากยิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากหนักที่มีเหตุมีผล ค่อยๆคิดอย่าได้รีบน้อย
จากนั้นก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ที่แต่ก่อนทำตนหมดเรี่ยวแรง นั่งๆนอนๆ เอาแต่คิดอะไรที่มันร้ายๆ และยิ่งคิดก็ยิ่งไม่อยากทำอะไร ให้ลุกกลับมาเริ่มทำอะไรสักอย่าง ที่ไม่ต้องเริ่มจากอะไรที่ยิ่งใหญ่มากก็ได้ เช่นว่า ออกมาจัดตู้เสื้อผ้า จัดห้อง ทำความสะอาดบ้าน และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อทำให้ตนเองไปสนใจอย่างอื่น ไม่ให้มีความคิดฟุ้งซ่านไปกว่านี้ และมันจะเห็นอะไรดีๆที่ทำให้อารมณ์ตัวเองดีขึ้น
รักษาด้วยไฟฟ้า (ECT,electroconvulsive therapy)
การรักษานี้จะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตาย จัดได้ว่าอาการหนักถึงหนักมากที่สุด หมอที่ทำการรักษาก็จะเลือกใช้วิธีนี้ โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสมองของผู้ป่วยให้เกิดอาการชัก ภาวถซึมเศร้าจะหายไปอย่างรวดเร็ว โดยประมาณ 1 สัปดาห์
การรักษานี้แม้ว่าจะดูน่ากลัว หากแต่ว่าแท้ที่จริงแล้วมีความปลอดภัยที่สูงมาก แต่เนื่องจากข้อมูลที่ออกไปตามสื่อต่าง ๆในปัจจุบัน ทำให้การรักษานี้ไม่เป็นที่ยอมรับ หมอที่ทำการรักษาจึงจัดวิธีนี้ไว้ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จริงๆเท่านั้น
ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดของการรักษาโรคนี้ ก็คือครอบครัว ของตัวผู้ป่วยเอง ที่ถือเป็นหัวใจหลักของการรักษา เพราะว่าพวกเขามีความใกล้ชิด และสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากกว่าหมอที่ทำการรักษา หากพวกเขาได้มอบกำลังใจที่จะสู้ไปพร้อมกับผู้ป่วย ช่วยเตือนให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมร่วมกันที่ทำให้มีความสุข โรคนี้ก็จะสามารถหายไปได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
ผู้เขียนหวังว่าข้อมูลนี้จะมอบความรู้ความเข้าใจให้กับตัวผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเอง หรือตัวของญาติผู้ป่วยไม่มากก็น้อย เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียที่นำมาซึ่งความเจ็บปวดของใครอีก…ขอให้ทุกท่านโชคดี….